Creative Thailand เกิดไม่ได้ถ้ายังคงบริหารงานแบบครอบครัว
Creative Economy เป็นระบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ นวัตกรรม ศิลปะ การพัฒนาคุณภาพชีวิต เป็นเศรษฐกิจความรู้ มุ่งเน้นการดึงศักยภาพของคนมาใช้ เป็นเศรษฐกิจที่มีพื้นฐานจากความเป็นประชาธิปไตย และการค้นคว้าวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ผนวกกับการเพิ่มมูลค่าด้วยศิลปะวัฒนธรรมและความคิดสร้างสรรค์
ซึ่งวัฒนธรรมองค์กรแบบไทยๆ เองที่เป็นระบบ seniority system แบ่งชนชั้น ระบบอุปถัมภ์เครือญาติ พวกพ้อง ทุกอย่าง top down คนในองกรไม่สามารถแสดงความเห็น ถกเถียงโต้แย้ง วิพากษ์วิจารณ์ได้ ทำให้ไม่เกิดการระดมความคิดเห็นซึ่งจะนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงและสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ในองค์กรได้
บริษัทไทยหลายบริษัทดูภายนอกแล้วเหมือนเป็นสากลแต่ไส้ในไม่เป็นระบบ สั่งงานกันแบบบ้านๆ เหมือนพี่สั่งน้อง น้าสั่งพี่ ลุงสั่งน้า ลักษณะอำนาจนิยม มีการ discriminate พนักงานมุ่งเอาใจเจ้านายมากกว่ามุ่งที่ความสำเร็จของงาน
บริษัทเหล่านี้มักจะเป็นบริษัทที่ขาดนวัตกรรม มี profit margin ต่ำเนื่องจากสินค้าไม่มีความแตกต่าง เน้นใช้แรงงานมากกว่าความคิดสร้างสรรค์ ทำให้แข่งขันยาก
หากประเทศไทยจะมุ่งไปเป็น creative economy ต้องเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมบริษัทเหล่านี้ให้เป็นสากล มีวัฒนธรรมประชาธิปไตย มีความเท่าเทียมกันในบริษัท สามารถวิจารณ์ได้ เคารพยอมรับความแตกต่างทางความคิดเห็น เจ้านายลูกน้องถกเถียงกันได้เพื่อผลสำฤทธิ์ของงาน