งาขี้ม้อน (perilla seed) เป็นพืชท้องถิ่นที่พบในไทย อินเดีย จีน ญี่ปุ่น เมล็ดงาขี้ม้อนมีปริมาณน้ำมันสูงมากถึง 35 – 45% โดยเฉพาะอย่างยิ่งนำ้มันที่เป็นไขมันโอเมก้า -3 Alpha-linolenic acid (ALA) เหมือนที่พบในเมล็ดของต้นปอป่าน (flaxseed)
แต่มีสัดส่วนไขมันโอเมก้า-3 มากกว่าเพราะ มี ไขมันโอเมก้า-3 ประมาณ 54-64%
เปรียบเทียบกับน้ำมันเมล็ดของต้นปอป่าน (Flax seed Oil) ซึ่งมี ไขมันโอเมก้า-3 ประมาณ 46%
หลังจากบริโภคเข้าสู่ร่างกายแล้ว ALA สามารถนำไปเป็นวัตถุดิบเพื่อสังเคราะห์กรดไขมัน EPA (ที่มีคุณค่าต่อเส้นเลือด) ได้ประมาณ 15% และกรดไขมัน DHA (ที่มีคุณค่าต่อสมอง) ได้ประมาณ 5% (Cunnane 1995, Nutrition Advisory Panel, 1995)
ยังมีข้อน่าสังเกตว่า น้ำมันพืชที่มีไขมันโอเมก้า-6 สูงๆ ยังมีผลเสีย คือไปลดประสิทธิภาพการสังเคราะห์ EPA และ DHA มากถึง 40%
สตรีมีครรภ์ที่บริโภคน้ำมันพืช ที่มีไขมันโอเมก้า-6 สูงๆยังมีผลไปลดปริมาณกรดไขมัน EPA และ DHA ในทารกอีกด้วย
มีปัจจัยอีกมากมายที่มีผลลดการนำ ไขมัน ALA ไปสังเคราะห์เป็น EPA และ DHA เช่น
1) การทานไขมันชนิดทรานส์
2) แอลกอฮอลล์
3) ร่างกายขาดวิตามิน B3, B6, C,และ เกลือแร่ Zinc , Magnesium
อายุมากขึ้น , ภาวะเบาหวาน , ยาบางชนิด ที่มีฤทธิ์ยับยั้ง เอ็นไซม์ Delta – 6-saturase
4) ชนชาติ บางเผ่าพันธุ์เช่น อินเดียนแดง ชนพื้นเมืองในนอร์เวย์ ชนพื้นเมืองไอริช ชนเผ่าอินนูอิต
หากเทียบกับน้ำมันปลา น้ำมันปลาก็ยังคงเป็นสารอาหารที่ให้ปริมาณกรดไขมัน EPA และ DHA เข้มข้นที่สุดมากกว่านำ้มันงาขี้ม้อน (เพราะไม่ต้องผ่านการสังเคราะห์ใดๆในร่างกายอีก) แต่ไขมันโอเมก้า-3 จากงาขี้ม้อนก็มีจุดเด่นกว่านำ้มันปลาตรงที่ มีปริมาณวิตามินอีสูงกว่าที่พบในน้ำมันปลา
ไม่มีใครสงสัยในคุณค่าของน้ำมันปลา แต่ปัจจุบันทุกคนกำลังเป็นห่วงมลภาวะในแม่น้ำ ทะเล ทำให้มีน้ำมันปลาปนเปื้อนไปด้วยโลหะหนัก และมลพิษต่างๆ
ดังนั้น น้ำมันจากงาขี้ม้อน(Perilla seed oil) จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับไขมันโอเมก้า -3 ที่ไม่ปนเปื้อน เพียงแต่ต้องทานในปริมาณที่สูงกว่าปริมาณบริโภคนำ้มันปลาโดยตรงอันเนื่องจากอัตราการสังเคราะห์กรดไขมัน กรดไขมัน DHA หรือ EPA ยังไม่สูงนัก จึงต้องทานต่อเนื่องในปริมาณมากขึ้นเพื่อชดเชย
คุณประโยชน์ของนำ้มันงาขี้ม้อน (Perilla seed oil)
1) ลดอาการอักเสบ มีประโยชน์ต่อผู้ป่วยไขข้ออักเสบ หอบหืด โรคอ้วน เบาหวาน ลดอาการในอาการปวดหัวไมเกรน
2) ป้องกันมิให้เลือดแข็งตัวง่าย (blood thinner) ดังนั้นผู้ป่วยที่กำลังทานยาต้านเกร็ดเลือดแข็งตัวเช่น aspirin, warfarin ต้องปรึกษาแพทย์ก่อนบริโภค
3) มีหลักฐานว่าชะลออัตราการเกิดมะเร็งลำไส้ในระยะแรกๆ
4) ช่วยลดอันตรายจากไขมันที่ไม่ดี ลดการสะสมของไขมันส่วนเกิน ช่วยลดความดันเลือด ทำให้ผนังหลอดเลือดยืดหยุ่นตัวดีขึ้น ลดไตรกลีเซอรืไรด์
5) ส่งเสริมการดูดซึมสารต้านอนุมูลอิสระที่ละลายในไขมัน เช่น Astaxanthin ให้ร่างกายนำไปใช้ได้มากขึ้น(เพิ่ม bioavailability)
6) ยังพบสาร alpha – lipoic acid และ corosolic acid ในงาขี้ม้อน และใช้รักษาในผู้ป่วยที่มีไขมันในเลือดสูง
นอกเหนือจากการทานในรูปน้ำมัน แล้ว ยังมีวิธีการบริโภคอีกแบบหนึ่งโดย นำเมล็ดงาขี้ม้อน 1 ช้อนชา ชงน้ำอุ่นๆ ดื่ม เช้า -เย็น
(หมายเหตุ : สตรีที่กำลังให้นมลูก ควรปรึกษาแพทย์ก่อนบริโภค )
ขอขอบคุณสาระดีๆจากเวลเนสสองพันสิบสอง