พร้อมกันหรือยัง ปลายปีที่จะถึงนี้จะเกิดปรากฏการณ์ฝนดาวตกที่น่าติดตาม 2 ครั้ง ได้แก่ ฝนดาวตกลีโอนิดส์ ซึ่งจะเกิดขึ้นมากที่สุดในวันที่ 17-18 พฤศจิกายน 2555 สามารถสังเกตได้ตั้งแต่หลังเที่ยงคืนของวันที่ 17 พฤศจิกายน 2555 ต่อเนื่องไปจนถึงเช้ามืดของวันที่ 18 พฤศจิกายน 2555 ช่วงเวลาที่คาดการณ์ว่าสามารถเห็นฝนดาวตกลีโอนิดส์มากที่สุด คือเวลาเที่ยงคืนถึง 05:00 น. ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือบริเวณใกล้กับกลุ่มดาวสิงโตซึ่งเป็นศูนย์กลางการกระจายของฝนดาวตกลีโอนิดส์ ในปีนี้นับเป็นโอกาสดีที่จะได้ชมฝนดาวตกลีโอนิดส์กันอย่างจุใจ เนื่องจากเป็นช่วงดวงจันทร์ข้างขึ้น 4 ค่ำ หลังเที่ยงคืนเมื่อดวงจันทร์ลับขอบฟ้าไปแล้ว ท้องฟ้าจะมืดสนิท เหมาะในการชมฝนดาวตกเป็นอย่างยิ่ง ทั้งนี้ นักดาราศาสตร์คาดการณ์ไว้ว่าอาจจะเห็นดาวตกมากถึง 15 ดวงต่อชั่วโมง
ฝนดาวตกลีโอนิดส์เกิดจากสายธารเศษฝุ่นของดาวหาง 55พี เทมเพล-ทัตเทิล (55P Tempel-Tuttle) ที่ยังหลงเหลืออยู่ในวงโคจรของดาวหาง ตัดผ่านวงโคจรของโลก ทำให้เศษฝุ่นของดาวหางเหล่านั้นเสียดสีกับชั้นบรรยากาศของโลก เกิดการเผาไหม้จนเห็นเป็นแสงสว่างวาบคล้ายลูกไฟวิ่งพาดผ่านท้องฟ้า ทิศทางวงโคจรของฝนดาวตกลีโอนิดส์สวนทางกับทิศทางวงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ ทำให้ความเร็วของเม็ดฝุ่นที่เข้ามาเสียดสีกับบรรยากาศโลกมีความเร็วค่อนข้างมาก โดยมีความเร็วสูงถึง 71 กิโลเมตรต่อวินาที ฝนดาวตกลีโอนิดส์ เป็นฝนดาวตกที่มีความสว่างมากที่สุด จึงได้รับการขนานนามว่า "ราชาแห่งฝนดาวตก"
ส่วนในเดือนธันวาคมยังมีฝนดาวตกเจมินิดส์หรือฝนดาวตกคนคู่ที่จะเกิดขึ้นมากที่สุดในวันที่ 13-14 ธันวาคม 2555 ในปีนี้นับเป็นโอกาสดีที่จะได้ชมความสวยงามของฝนดาวตกเจมินิดส์ เนื่องจากเป็นช่วงคืนเดือนมืด ข้างแรม 15 ค่ำ ไม่มีแสงจากดวงจันทร์มารบกวน นักดาราศาสตร์คาดการณ์ว่าในปีนี้จะสามารถสังเกตเห็นฝนดาวตกเจมินิดส์ได้มากกว่า 120 ดวงต่อชั่วโมง ซึ่งจะสังเกตได้ง่ายกว่าฝนดาวตกลีโอนิดส์ เนื่องจากมีความเร็วของดาวตกไม่มากนัก ประมาณ 35 กิโลเมตรต่อวินาที ซึ่งมีเวลาพอที่จะชี้ชวนกันดูฝนดาวตกได้
ตาราง แสดงปรากฏการณ์และเหตุการทางดาราศาสตร์ ในปี ค.ศ. 2012
17-18 พฤศจิกายน 2555 |
ฝนดาวตกกลุ่มดาวสิงห์โต |
00:00 – 04:00 น |
สามารถสังเกตการณ์ได้ในประเทศไทย |
ตาเปล่า
|
28 พฤศจิกายน 2555 |
จันทรุปราคาเงามัว |
21:33-23:51 น. |
สามารถสังเกตการณ์ได้ในประเทศไทย |
ตาเปล่า,กล้องสองตา,กล้องโทรทรรศณน์ |
3 ธันวาคม 2555 |
ดาวพฤหัสอยู่ตำแหน่งตรงข้าม |
ตลอดทั้งคืน |
สามารถสังเกตการณ์ได้ในประเทศไทย |
ตาเปล่า,กล้องสองตา,กล้องโทรทรรศณน์ |
13 ธันวาคม 2555 |
ฝนดาวตกกลุ่มดาวคนคู่ |
ตลอดทั้งคืนของันที่ 13 และมากที่สุดเวลา 02:00-04:00 ของวันที่ 14 |
สามารถสังเกตการณ์ได้ในประเทศไทย |
ตาเปล่า |
17-18 พฤศจิกายน : ฝนดาวตกกลุ่มดาวลีโอนิดส์
ปรากฏการณ์ฝนดาวตกกลุ่มดาวเจมินิดส์ เกิดจาก เศษอุกกาบาตที่ถูกดาวหาง 55P/Tempel-Tuttle ทิ้งไว้ขวางเส้นทางโคจรของโลก ตอนที่โคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์เมื่อปี พ.ศ. 2541 เมื่อโลกโคจรผ่านบริเวณดังกล่าวจึงดึงดูดชิ้นส่วนเหล่านี้เข้าสู่ชั้นบรรยากาศกลายเป็นฝนดาวตก โดยมีอัตราเฉลี่ย 10-15 ดวงต่อชั่วโมง โดยในปีนี้คาดว่าจะมากที่สุดในช่วงคืนวันที่17 ข้ามไปถึงเช้ามืดของวันที่ 18 พ.ย. โดยปรากฏการณ์นี้ประเทศไทยสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าด้วย
28 พฤศจิกายน 2555 : จันทรุปราคาเงามัว
นับเป็นจันทรุปราคาครั้งที่สองของปี 2012 โดยจะมาเป็นแบบ “เงามัว” ซึ่งความสว่างของดวงจันทร์จะลดลงจนสามารถเห็นด้วยตาเปล่า โดยจะมืดลงจากทางด้านเหนือของดวงจันทร์ โดยเริ่มต้นปรากฏการณ์เมื่อดวงจันทร์เข้าสู่เงามัวเวลา 19:14 น. ตามเวลาประเทศไทย และสิ้นสุดปรากฏการณ์เกือบเที่ยงคืน ในสถานการณ์จริงการสังเกตจันทรุปราคาเงามัวตอนที่เริ่มและสิ้นสุดปรากฏการณ์ ด้วยตาเปล่าแทบจะไม่เห็นความเปลี่ยนแปลง จนกระทั่งดวงจันทร์เข้าสู่เงามัวไปแล้ว 2/3 ของพื้นที่ ซึ่งก็อยู่ในช่วงเวลาที่ดวงจันทร์เข้าสู่เงามัวมากที่สุดด้วย
13 ธันวาคม 2555 : ฝนดาวตกเจมินิดส์
ปรากฏการณ์สุดท้ายของปี 2012 เป็นฝนดาวตกที่ขึ้นชื่อเรื่องจำนวนดาวตกซึ่งตกมากกว่าฝนดาวตกชุดอื่น โดยมีจำนวนเฉลี่ย 120-160 ดวงต่อชั่วโมง ขึ้นอยู่กับสภาพท้องฟ้า ฝนดาวตกเจมิดส์มีช่วงเวลาการตกสูงสุดนานหลายชั่วโมง ดังนั้นเมื่อกลุ่มดาวคนคู่ซึ่งเป็นจุดศูนย์กลางของการกระจาย พ้นขอบฟ้าในเวลาประมาณ 2 ทุ่ม ของวันที่ 13 จำนวนของดาวตกจะเพิ่มขึ้นจนกระทั่งถึงช่วงเวลาตี 2 – ตี 4 ของวันที่ 14 ธ.ค. โดยคาดว่าอาจจะมีดาวตกเกิน 100 ดวงต่อชั่วโมง ซึ่งในวันดังกล่าวเป็นช่วงเดือนมืด แสงดวงจันทร์จึงไม่รบกวนการชมฝนดาวตกอีกด้วย
ก่อนจะหมดปีนี้อย่างรวดเร็วก็มีอะไรให้เราได้ดูเป็นจุด Hi-light หลังจากนั้นก็สวัสดีต้อนรับปี 2556 กันต่อได้เลย